ค้นหาบล็อกนี้

รูปแบบของคุณสมบัติของฟิลด์และตาราง

การกำหนดรูปแบบของ ฟิลด์ (Field) และ ตาราง (Table Data)
เมื่อเราได้ทราบถึงวิธีการกำหนดรูปแบบของฟิลด์ และ ตาราง มาแล้ว หัวข้อนี้ผมจะอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดในแบบต่างๆ ในการแสดงผลของฟิลด์ และ ตาราง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


รูปแบบ (Format)
คือจะใช้กำหนดรูปแบบในการแสดงผลของฟิลด์ ในมุมมองของ การเปิดตารางเพื่อดูข้อมูล ซึ่งค่านี้จะไม่มีผลต่อค่าของข้อมูลเป็นเพียงรูปแบบในการแสดงผลเท่านั้น เราสามารถเลือกในคอมโปบ็อกซ์ ได้เลย ในส่วนนี้ผมจะขออธิบายที่อยู่นอกเหนือคอมโบบ็อกซ์ เท่านั้นครับ ดังนี้

- ใส่ค่า ว่างไว้ ความหมาย จะแสดงผลธรรมดาตามที่โปรแกรมกำหนดมาแล้ว

- ใส่ค่า 0 (เลขศูนย์) ความหมาย จะแสดงผลเป็นตัวเลขนั้นๆ ถ้าไม่มีจะสแดง 0 เช่น กำหนดว่า 0000.000 แสดงเป็น 0123.250 เป็นต้น

- ใส่ # ความหมาย แสดงผลเป็นตัวเลขนั้นๆ เลข 0 ที่อยู่ข้างหน้าและหลังจะไม่แสดง เช่น ####.### แสดงเป็น 123.25 เป็นต้น

- ใ่ส่ / ความหมาย แสดงสัญลักษณ์คั่น เพื่อแยก วันที่ / เดืิอน / พ.ศ. เช่น กำหนดว่า dd/mm/yy แสดงเป็นค่าของ วัีนที่/เดือน/คศ. 12/12/10

- ใส่ d ความหมาย แสดงเป็นวันที่ d แสดง 7 , dd แสดง 07, ddd แสดง Mon , dddd แสดง Monday

- ใส่ m ความหมาย แสดงเป็นเดือน m แสดง 5 , mm แสดง 05, mmm แสดง Jan , mmmm แสดง January เป็นต้น

- ใส่ y ความหมาย แสดงเป็นปี yy แสดง 10, yyyy แสดง 2010 เป็นต้น

- ใส่ > ความหมายแสดงตัวอักษรทุกตัวในฟิลด์นี้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

- ใส่ < ความหมายแสดงตัวอักษรทุกตัวในฟิลด์นี้เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด รูปแบบการป้อนข้อมูล (Input Mask)
คือ รูปแบบการป้อนข้อมูลว่าเราจะป้อนข้อมูลแแบบใดเพื่อความ สะดวกและความถูกต้องของข้อมูล เช่น การที่เราจะป้อนวันที่ เราจะกำหนดรูปแบบเป็น 00/00/0000 คือวันที่/เดือน/พ.ศ. เมื่อเราป้อนข้อมูลเครื่องก็จะขึ้นรูปแบบให้เลย _ _ /_ _ /_ _ _ _ ลักษณะนี้ ครับ ขอยกอีกสักตัวอย่างหนึ่งนะครับ ป้อนข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ กำหนดรูปแบบ เป็น 000-000000 เมื่อเราป้อนข้อมูลโปรแกรมก็จะขึ้นรูปแบบเป็น _ _ _ - _ _ _ _ _ _ เราก็ป้อนข้อมูลได้เลย ลักษณะของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบการป้อนข้อมูลดังนี้

- ใส่ค่าว่าง ความหมาย จะใส่ค่าอย่างไรก็ได้ รูปแบบจะทำการกำหนดตามที่โปรแกรมระบุไว้

- ใส่ค่าศูนย์ 0 ความหมาย ใส่ได้เฉพาะตัวเลข 0-9 มีค่าว่างไม่ได้

- ใส่ค่า 9 หรือ # ความหมาย ใส่ค่าเป็นตัวเลข เว้นวรรคได้

- ใส่ค่า L ความหมาย ต้องใส่ค่าที่เป็นตัวอักษรเท่านั้น

- ใส่ค่า ? ความหมาย ใส่ตัวอักษรเท่านั้น มีค่าว่างได้

- ใส่ค่า A ความหมาย ใส่ตัวเลข 0-9 หรือตัวอักษา A-Z เท่านั้น

- ใส่ค่า a ความหมาย ใส่ตัวเลข 0-9 หรือตัวอักษา A-Z เท่านั้น มีค่าว่างได้

- ใส่ค่า & ความหมาย ใส่ตัวอักษรได้ทุกตัว เว้นวรรคได้

- ใส่ค่า > ความหมาย ตัวอักษรที่ใส่ลงไปจะเปลี่ยนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่

- ใส่ค่า < ความหมาย ตัวอักษรที่ใส่ลงไปจะเปลี่ยนเป็นตัวพิมพ์เล็ก ค่าเริ่มต้น (Default Value)
คือการกำหนดว่าจะใส่ค่าอะไรในฟิลด์นี้เป็นค่าเริ่มแรก เช่นกำหนดเป็น เมื่อกรอกหรือเพิ่มข้อมูลในเรคคอร์ดนี้ ในฟิลด์วันที่ให้กำหนดวันที่ปัจจุบันเป็นค่าเริ่มต้น เราก็สามารถกำหนดได้เลย ลักษณะของข้อมูลที่จะใส่ดังนี้

- ใ่ส่ค่าว่าง ความหมาย ก็คือโปรแกรมจะว่างใว้จนกว่าเราจะกรอกข้อมูลเอง

- ใส่วันที่ ปัจจุบัน กำหนดว่า DATE( ) เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลในเรคอร์ดนี้ ฟิลด์นี้ก็จะกรอกข้อมูลวันที่เป็นปัจจุบันให้เลย

- ใส่ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ต้องการกำหนดค่าตัวเลขใหน ก็ให้ใส่ค่าตัวเลขนั้นได้เลย

- ใส่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ก็ใส่ข้อความที่เราต้องการได้เลย แต่ให้ข้อความที่เราใส่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด เช่น ต้องการให้โปรแกรมกำหนดจังหวัดให้ ก็ให้พิมพ์ว่า "กรุงเทพฯ" เป็นต้น

ป้ายคำอธิบาย (Caption)
คือป้ายคำอธิบายว่าฟิลด์นี้คืออะไร เช่นส่วนมากเราจะกำหนดชื่อฟิลด์เป็นภาษาอังกฤษ พอนานๆไป ผู้เขียนโปรแกรมเองก็จะลืมว่าภาษาอังกฤษที่เราใส่คืออะไร เราก็ใส่คำอธิบายใว้เราก็จะไม่ลืม ป้ายคำอธิบายนี้ เราจะใส่หรือไม่ก็ได้ ถ้ามั่นใจว่า เมื่อเรากลับมาแก้โปรแกรมภายหลัง เราจำได้แน่นอน ก็ไม่ใส่ก็ได้

กฏการตรวจสอบ (Validation Rule)
คือ เมื่อต้องการจะให้โปรแกรมตรวจสอบข้อมูลที่เรากรอกว่าตรงตามความต้องการของเราหรือไม่ ตรงนี้อาจมีความสำคัญสำหรับข้อมููลบางชนิด เช่น ตัวเลขที่เราต้องการกรอก จะมีเพียง 1,2,3,4,5 เท่านั้น ถ้ากรอกเลข 6 จะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ระบบโปรแกรมจะประมวลผลผิดพลาด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเราก็ใส่กฏการตรวจสอบ ให้ตัวเลขที่กรอกในฟิลด์นี้มีค่าน้อยกว่า 6 ใส่ข้อความดังนี้ <6> หรือ เครื่องหมายน้อยกว่า < แล้วตามด้วยตัวเลขที่ต้องการ ความหมายก็จะตรวจสอบตามตัวเลขที่เราใส่เข้าไป - ใส่ Between ความหมาย ตัวเลขที่อยู่ระว่่าง เช่น Between 1 and 15 ตัวเลขที่ยอมให้กรอกก็จะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 15 เท่านั้น - หรือใส่ตามเงื้อนไข่ที่อ้างถึง แล้วค่อยพบกับการสร้างเงื่อนไขที่อ้างถึงในหัวข้อการสร้างฟอร์มครับ ข้อความตรวจสอบ (Validation Text Or Message Value)
คือเมื่อข้อมูลที่เราเพิ่มไม่เป็นไปตามกฏการตรวจสอบ ก็ให้ขึ้นข้อมความนี้ เช่น เมื่อเราใส่กฏการตรวจสอบแล้ว ก็ให้ใส่ข้อความตรวจสอบด้วย ดังนี้ คำเตือน ตัวเลขต้องไม่เกิน 5 ครับ

สรุปในการกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ และตาราง
ในการกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ และตาราง นี้ ผมได้กล่าวที่จำเป็นในการเขียนโปรแกรมในเบื้องต้น ก็ประมาณที่กล่าวมานี้แหละครับ ถ้าเราทำได้เท่านี้ก็ถือว่าไม่ธรรมดาแล้วครับ สำหรับคุณสมบัติอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวใว้ จะไม่ค่อยจะได้ใช้ครับ หากใครสงสัยก็ส่่งความคิดเห็นสอบถามได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น: